วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ข้อสอบปลายภาค
ให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบคำถามประเด็นต่อไปนี้ (40 คะแนน)
1.ความหมายคำว่า กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนดพระราชกฤษฎีกา  เทศบัญญัติ 
ตอบ กฎหมายรัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ เป็นต้นแบบให้กับ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ฉบับอื่น ๆ ที่เรียกว่ากฎหมายลูก
            พระราชบัญญัติ หมายถึง กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา เนื้อหาของพระราชบัญญัตินั้นจะกำหนดเนื้อหาในเรื่องใดก็ได้ แต่ต้องไม่ขัดหรือ แย้งกับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญทั่วไป เรียกว่า ประเพณีการปกครองของประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตย
พระราชกำหนด หมายถึงกฎหมายรูปแบบหนึ่งซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของคณะรัฐมนตรี โดยอาศัยอำนาจตามที่รัฐธรรมนูญวางไว้ว่าเป็นกรณีฉุกเฉิน ที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยของประเทศ หรือความปลอดภัยสาธารณะความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ หรือในกรณีที่มีความจำเป็นต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยการภาษีอากรหรือเงินตรา ซึ่งจะต้อง ได้รับการพิจารณาโดยด่วนและลับ เพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน พระราชกำหนดมีผลใช้บังคับได้ดังพระราชบัญญัติ ดังนั้นพระราชกำหนดจึงแก้ไขเพิ่มเติม หรือยกเลิกพระราชบัญญัติได้
            เทศบัญญัติ หมายถึง กฎหมายที่เทศบาลออกเพื่อใช้บังคับในเขตเทศบาลทั้งนี้อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 ผู้เสนอร่างเทศบัญญัติ ได้แก่ นายกเทศมนตรี สมาชิกสภาเทศบาล หรือราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ.254
2.กฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่ใช้ในการปกครองประเทศ ปัจจุบันเป็นอย่างไรในการกำหนดออกกฎหมายสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดของการประกาศใช้เป็นอย่างไร หากเราไม่มีรัฐธรรมนูญนักศึกษาคิดว่าจะเป็นอย่างไร อธิบาย
ตอบ เป็นที่ทราบกันดีว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญนับเป็นกฎหมายที่สำคัญยิ่ง ในฐานะที่เป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ และยังเป็นรากฐานที่มาของกฎหมายอื่นอีกด้วย ดังนั้นกฎหมายรัฐธรรมนูญที่ใช้ในการปกครองประเทศ ปัจจุบัน เป็นกฎหมายที่ให้สิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคแก่คนไทยทุกคน ซึ่งหากเราไม่มีรัฐธรรมนูญข้าพเจ้าคิดว่า ประเทศไทยของเราขาดความเสมอภาพไม่มีสิทธิ เสรีภาพของตัวเอง และทำให้แผ่นดินของประเทศไทยวุ่นวายขาดความเป็นธรรม มีการแย่งชิงอำนาจซึ่งกันและกัน มีการเอารัดเอาเปรียบกันมากขึ้น เพื่อประโยชน์ส่วนตัว และส่วนประเทศไทยก็ไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่มีความรัก สามัคคี ดังนั้นกฎหมายรัฐธรรมนูญเปรียบเสมือนกรอบที่กั้นไม่ให้กฎหมายอื่นๆออกนอกกรอบ เราต้องคำนึงถึงมากที่สุดของการประกาศใช้ คือ ต้องคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมให้มากที่สุด คือต้องเคารพในสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค เพื่อความเป็นหนึ่งเดียวของประเทศไทยและความสงบสุขไม่วุ่นวายของบ้านเมืองในประเทศไทย
3.ในสภาพปัจจุบันการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 112 มีนักวิชาการต้องการจะแก้ไขท่านคิดว่าควรที่จะแก้ไขหรือไม่ประเด็นใดอธิบายให้เหตุผล
ตอบ  มาตรา 112 ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จ ราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปีข้าพเจ้าคิดว่าไม่ต้องแก้ไขแล้วเพราะมาตรา 112 นี้ เหมาะสมดีแล้ว และสิ่งที่นักวิชาการต้องการแก้ไขนั้นอาจเป็นเพราะมันเป็นประโยชน์สำหรับตัวของเขาเองซึ่งอาจมีผลกระทบหรือปัญหาต่างๆตามมาในทางที่ไม่ดี
4.กรณีเกิดความขัดแย้งระหว่างเพื่อนบ้านเรื่องชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาที่เป็นกรณีพิพากขึ้นศาลโลกเรื่องดินแดนท่านเป็นคนไทยคนหนึ่งมองปัญหานี้อย่างไร และจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไรเพื่อมิให้ไทยต้องเสียดินแดน
ตอบ ในที่กรณีเกิดความขัดแย้งระหว่างเพื่อนบ้านเรื่องชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาที่เป็นกรณี พิพากขึ้นศาลโลกเรื่องดินแดนเป็นคนไทยคนหนึ่งมองปัญหานี้เป็นปัญหาที่ใหญ่และเป็นข่าวที่มีความสนใจมากเพราะเกิดมาจากการเข้าใจตีความแผนที่คนละแผ่นกัน จึงทำให้เป็นต้นเหตุมีการบุกล้ำพื้นที่ระหว่างกัน โดยมีทหารหรือคนที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ทำการก่อเหตุ จึงทำให้ส่งผลกระทบต่อคนที่อาศัยอยู่ในแถบนั้น และ กรณีของเขาพระวิหารก็เช่นเดียวกันตอนนี้ยังตกลงกันไม่ได้ สำหรับข้าพเจ้าคิดว่าวิธีที่ดีที่สุดคือ การใช้การเจราซึ่งกันและกัน อย่าใช้ความความรุนแรงและใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา เพื่อผลประโยชน์ของประเทศ  และประชาชนที่อาศัยอยู่ในละแวกนั้นให้เกิดปัญหา ความเดือดร้อนให้น้อยที่สุด
5.พระราชบัญญัติการศึกษาเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญการศึกษา ท่านเห็นด้วย กับประเด็นนี้หรือไม่ อธิบายให้เหตุผล
ตอบ ข้าพเจ้าเห็นด้วยกับที่ว่าพระราชบัญญัติการศึกษาเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญการศึกษา เพราะ พระราชบัญญัติการศึกษาและรัฐธรรมนูญการศึกษานั้นล้วนเกี่ยวข้องกับการศึกษา ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญและเป็นแนวทางในการร่างและเขียนพระราชบัญญัติการศึกษา ขึ้นมา เพื่อนำมาประกาศใช้และใช้เพื่อพัฒนาคนไทยทุกคนให้มีการศึกษาทุกคนอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง ตามจุดมุ่งหมายของการพัฒนาศักยภาพคนไทยให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
6.ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ขอให้นักศึกษาให้ความหมาย การศึกษา  การศึกษาขั้นพื้นฐาน  การศึกษาตลอดชีวิต  การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ  การศึกษาตามอัธยาศัย  สถานศึกษา  สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  มาตรฐานการศึกษา  การประกันคุณภาพภายใน  การประกันคุณภาพภายนอก  ผู้สอน  ครู  คณาจารย์  ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา  บุคลากรทางการศึกษาสถานศึกษา
ตอบ การศึกษาหมายถึงกระบวนการต่าง ๆ ที่บุคคลนำมาใช้ในการพัฒนาความรู้ความสามารถ เจตคติ ความประพฤติที่ดีมีคุณค่า และมีคุณธรรมเป็นที่ยอมรับนับถือของสังคม
            การศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายถึง การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับก่อนประถมศึกษา ระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา
            การศึกษาตลอดชีวิต หมายถึง การจัดกระบวนการทางการศึกษา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นการจัด การศึกษาในรูปแบบของการศึกษาในระบบโรงเรียน การศึกษานอกระบบโรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัย มุ่งให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง มุ่งพัฒนาบุคคลให้สามารถพัฒนาตนเอง และปรับตนเองให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของสังคมการเมืองและเศรษฐกิจของโลก
การศึกษาในระบบ หมายถึง เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการจบการศึกษาที่แน่นอน
การศึกษานอกระบบ หมายถึง เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบวิธีวิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการจบการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องสอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพปัญหา ความต้องการของบุคลแต่ล่ะกลุ่ม
การศึกษาตามอัธยาศัย หมายถึง การศึกษาที่เกิดขึ้นตามวิถีชีวิตที่เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ จากการทำงาน จากบุคคล จากครอบครัว จากชุมชน จากแหล่งความรู้ต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ความบันเทิง และการพัฒนาคุณภาพชีวิต
            สถานศึกษา หมายถึง หน่วยงานตามกฎหมายที่มีหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นของภาครัฐหรือภาคเอกชน เช่น โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย หรือ หน่วยงานการศึกษาอื่น ๆ
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายถึง เป็นสถานศึกษาที่จัดการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรฐานการศึกษา หมายถึง มาตรฐานหรือข้อกำหนด เช่น คุณลักษณะ คุณภาพ ที่พึงประสงค์ และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง เพื่อใช้เป็นในการประกันคุณภาพ
การประกันคุณภาพภายใน หมายถึง การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายในโดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเองหรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแล สถานศึกษานั้น
การประกันคุณภาพภายนอก หมายถึง การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอกโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
            ผู้สอน หมายถึง ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาระดับต่างๆ
ครู หมายถึง บุคลากรวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆในสถานศึกษาทั้งรัฐและเอกชน
            คณาจารย์ หมายถึง บุคลากร ซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ระดับปริญญา ของรัฐและเอกชน
            ผู้บริหารการศึกษา หมายถึง บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบ การบริหารสถานศึกษาแต่ละแห่งของรัฐและเอกชน
            บุคลากรทางการศึกษา หมายถึง ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา รวมทั้ง ผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการหรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียน การสอน การนิเทศและการบริหารการศึกษา ในหน่วยงานการศึกษาต่างๆ
7.ในการจัดการศึกษานักศึกษาคิดว่ามีความมุ่งหมายและหลักการจัดการในการจัดการศึกษา อย่างไร
ตอบความมุ่งหมายในอุดมการณ์ของการศึกษา หรือปรัชญาการศึกษา เพื่อการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาให้คนไทยเป็นคนที่มีประสิทธิภาพในการเรียนที่สมบูรณ์แบบทั้งด้านจิตใจ สติปัญญา ความรู้ มีคุณธรรมจริยธรรมและวัฒนธรรมในการอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นอย่างมีความสุข โดยการใช้กระบวนการเรียนรู้ต่างๆ ของการศึกษาหลักการจัดการศึกษา นั้นต้องเป็นการศึกษาที่จัดให้ให้กับคนไทยทุกคน อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และต้องพัฒนาสาระ กระบวนการเรียนรู้ อย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาคนไทยตามความมุ่งหมายของการจัดการศึกษาและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
8.มีบุคคลหนึ่งเข้าไปเป็นครูสอนหนังสือในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่เป็นประจำกรณีมิได้รับการบรรจุเป็นครู หากพิจารณาตามกฎหมายถ้าผิด กฎหมายท่านคิดว่าจะถูกลงโทษอย่างไร   หากไม่ผิดกฎหมายท่านคิดว่าจะ มีวิธีการทำอย่างไร
ตอบ ข้าพเจ้าคิดว่าไม่ผิด เพราะ ในพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางศึกษา พ..2546 ได้กำหนดไว้ว่าห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุม โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่กรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง เว้นแต่กรณีหากผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษาถือว่าไม่ผิดในการสอน
9.หากนักศึกษาต้องการสอบบรรจุเป็นครูผู้ช่วยจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
ตอบ หากต้องการสอบบรรจุเป็นครูผู้ช่วยจะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
            1.เป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู
               พ.ศ. 2547
            2. เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ได้รับวุฒิปริญญาตรีทางการศึกษาหรือ
                ปริญญาตรีที่มีความรู้พื้นฐานทางวิชาชีพครู
            3. เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูหรือได้รับหนังสือรับรองสิทธิ์การประกอบ
              วิชาชีพครูตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
            4. ไม่เป็นพระภิกษุสามเณร นักพรต นักบวช
 
10.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นว่าเมื่อเรียนวิชานี้ นักศึกษาได้อะไรบ้าง ครูผู้สอนวิชาชีพโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ Weblog มีความเหมาะสม และเป็นไปได้อย่างไร  วิจารณ์แสดงความคิดเห็น และถ้าจะให้น้ำหนักวิชานี้ ควรให้เกรดอะไร  และนักศึกษาคิดว่าตนเองจะได้เกรดอะไร
ตอบ ในการเรียนในรายวิชากฎหมายนี้ โดยการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ Weblog ได้ความรู้มากมายในการเรียนวิชากฎหมายซึ่งสามารถนำความรู้ไปใช้ในการสอบ การจัดการเรียนการสอนในอนาคตและเป็นแนวทางในการนำนวัตกรรมที่ทันสมัยมาใช้ในการเรียนการสอนเป็นอย่างดี  ข้าพเจ้าคิดว่ามีความเหมาะสมเป็นอย่างมากโดยเฉพาะในวิชานี้ซึ่งอาจารย์ผู้สอนมีความรู้ความสามารถในเนื้อหาและเทคโนโลยีเป็นอย่างดีถ้าให้เกรดในวิชานี้ข้าพเจ้าจะให้เกรดAและข้าพเจ้าก็อยากได้เกรดAค่ะ
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น